อากาศร้อน แอร์ไฟลุก! อันตรายที่ไม่อาจมองข้าม

อากาศร้อน แอร์ไฟลุก! อันตรายที่ไม่อาจมองข้าม

ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าอากาศร้อน คงหนีไม่พ้น ประเทศไทย
โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน (ฤดูร้อน) เป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูง สภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งไม่เหมาะกับการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักจะเลือกอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็นสบาย

จากข้อมูลการเก็บสถิติอุณหภูมิสูงสุดในช่วงฤดูร้อนไทย ของศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นระยะเวลา 73 ปี ประเทศไทยเคยมีอุณหภูมิสูงที่สุดอยู่ที่ 44.6 องศาเซลเซียส ในพื้นที่จังหวัดตาก และแม่ฮ่องสอน

และในปีนี้ประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนอย่างต่อเนื่อง ทุบสถิติแตะ 45 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนสุดในรอบ 73 ปีกันเลยทีเดียว เครื่องปรับอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีกันทุกครัวเรือน เพราะ อากาศยิ่งร้อน การใช้แอร์ยิ่งมาก เมื่อแอร์ทำงานหนักในสภาพอากาศที่ร้อน ก็ส่งผลกระทบก่อให้เกิดอันตรายอื่น ๆ ขึ้นได้

ชวนหาคำตอบเรื่อง “แอร์”

กับ อาจารย์ชินรักษ์ เธียรพงษ์

เริ่มแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า แอร์ทำงานอย่างไร?
สมัยก่อนเครื่องปรับอากาศยังไม่จำเป็นที่ทุกครัวเรือนต้องมี สภาพอากาศฤดูร้อนในช่วงนั้น อุณหภูมิยังไม่สูงเท่าปัจจุบันนี้
การผลิตเครื่องปรับอากาศจะเป็นระบบแอร์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งจะมีมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนคอมเพลสเซอร์ให้ทำงานด้วยระบบ ON and OFF

ถ้าเราตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส เมื่อกดเปิด แอร์จะทำงานทันที ซึ่งในช่วงที่อุณหภูมิยังไม่ถึง 25 องศาเซลเซียส หรือตัวเลขที่เราตั้งอุณหภูมิไว้ น้ำยาแอร์จะหมุนเวียนดูดความร้อนออกไปทิ้งผ่านคอยล์ร้อนนอกห้อง จนกระทั่งอุณหภูมิถึงตามตัวเลขที่เราตั้งไว้ คอมเพลสเซอร์และน้ำยาแอร์ก็จะหยุดทำงาน ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นเกินค่าที่ตั้งไว้ มอเตอร์คอมเพลสเซอร์ก็จะถูกสั่งให้ทำงานอีกครั้ง

ส่วนแอร์อินเวอร์เตอร์ จะมีอุปกรณ์อีกตัวติดอยู่ที่มอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนให้คอมเพลสเซอร์ทำงาน เมื่อกดเปิดแอร์ มอเตอร์จะค่อย ๆ หมุน ค่อย ๆ เพิ่มรอบ จนอุณหภูมิภายในห้องถึงค่าที่ตั้งไว้ อุปกรณ์นี้จะสั่งให้มอเตอร์ค่อย ๆ ลดความเร็วลง จนถึงค่าความเร็วต่ำที่กำหนดไว้ แล้วหลักการนี้จะช่วยให้เราประหยัดพลังงานได้อย่างไร?

แอร์ธรรมดา จะมีการทำงานของมอเตอร์จากจุดหยุดนิ่งไปจนถึงความเร็วรอบสูงสุด เมื่อความเร็วรอบได้ที่ กระแสจะค่อย ๆ ลดลง
แอร์อินเวอร์เตอร์ จะค่อย ๆ เพิ่มรอบ ค่อย ๆ จ่ายไฟให้มอเตอร์ค่อย ๆ หมุน ความเร็วรอบก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้กินไฟน้อยกว่า

ล้างแอร์บ่อย ช่วยประหยัดไฟจริงไหม?

จริงครับ…
แต่ทำไมถึงจริง?
ลองนึกภาพตามผม ถ้าคุณลองเปิดหน้ากากแอร์ คุณจะเจอครีบระบายความร้อนเยอะมากเลย

ซึ่งตามหลักอากาศจะแลกเปลี่ยนความร้อนกับคอยล์ร้อน คอยล์เย็นผ่านครีบพวกนี้ ถ้ามีฝุ่นมาเกาะ ก็จะทำให้การถ่ายเทความร้อนระหว่างอากาศผ่านครีบแย่ลง แอร์จะทำงานหนักขึ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ควรล้างแอร์หรือยัง?

ปกติเมื่อคุณเปิดแอร์ ความเร็วลมแอร์เท่านี้คุณรู้สึกเย็น
แต่เมื่อผ่านไป 3-4 เดือน คุณเปิดแอร์อุณหภูมิเท่าเดิม
ความเร็วลมแอร์เท่าเดิม แต่ไม่รู้สึกเย็นเมื่อเดิม อันนี้เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า “แผงฟินคอยล์สกปรกแล้วนะ ถึงเวลาที่ต้องล้างได้แล้วนะ”

อากาศร้อน จนคอมเพลสเซอร์ไฟลุก!
ถ้าจะบอกว่า
แอร์ลุกไหม้จากอากาศร้อน ค่อนข้างเป็นไปได้ยากมาก

ถ้าแอร์ทำงานปกติ สมบูรณ์ ไม่มีอะไรขัดข้อง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้แทบเป็นไปไม่ได้เลย
โดยปกติแล้วทางวิศวกรรมจะออกแบบ และเลือกอุปกรณ์ที่ทนกับแสงแดดทั่วไปอยู่แล้ว ซึ่งมักมีระบบป้องกัน เว้นแต่ว่าจะมีสัตว์หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปแล้วทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร

ทริคเล็ก ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อแอร์สักเครื่อง

ในเรื่องของวิธีการเลือกซื้อ อย่างแรกเลยต้องให้เหมาะกับห้องคุณก่อน
ขนาดห้อง? ทิศไหน? จำนวนผู้อาศัย? กิจกรรมภายในห้อง?
หรือเรียกรวม ๆ ว่า “Heat Load” คือ เราต้องหาภาระความร้อนที่แอร์ต้องระบายออกไปข้างนอกมากเท่าไหร่
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเบอร์ 5 แบบไหน ประหยัดมากหรือน้อย?
ให้คุณดูที่ COP หรือ EER ตัวเลขยิ่งสูงแปลว่าความสามารถในการทำความเย็นยิ่งดี
และควรหมั่นดูฟิลเตอร์กรองอากาศทุกเดือน

KMITL Expert EP.5

อากาศร้อน แอร์ไฟลุก! อันตรายที่ไม่อาจมองข้าม

Click here

Writer

Suchanan Lekjaisue
Social Media Executive
Public Relations and Corporate Communications Office - KMITL (สำนักงานสื่อสารองค์กร)

Read more

วิธีติดตั้ง Google reCAPTCHA  บนฟอร์มเว็บ v2 และ v3

วิธีติดตั้ง Google reCAPTCHA บนฟอร์มเว็บ v2 และ v3

Google reCAPTCHA เป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันสแปมหรือบอทเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ โดยให้ผู้ใช้ตรวจสอบตนเองว่าเป็นมนุษย์หรือไม่ ด้วย reCAPTCHA โดยปัจจุบันมีเวอร์ชันล่าสุด (v2 และ v3) การป้องกันนี้ถูกพัฒนาเพื่อลดการรบกวนผู้ใช้และให้ระบบทำงานได้อย่างแม่

By nutjari
ผีที่ว่าน่ากลัวยังไม่น่ากลัวเท่าแก๊งค์คอลเซนเตอร์

ผีที่ว่าน่ากลัวยังไม่น่ากลัวเท่าแก๊งค์คอลเซนเตอร์

จากกรณีที่น่ากังวลใจเกี่ยวกับการหลอกลวงนักศึกษาหลายร้อยคนโดย “แก๊งคอลเซนเตอร์” ซึ่งมาในรูปแบบที่ซับซ้อนและทำให้เชื่อถือได้ โดยแก๊งคอลเซนเตอร์อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี นักศึกษาหลายคนได้รับการติดต่อแจ้งว่าพวกเขาอาจมีความผิดตามกฎหมาย บทสนทนาหรื

By nutjari
รับมือให้ทัน สภาวะตกหลุมอากาศ

รับมือให้ทัน สภาวะตกหลุมอากาศ

Air Turbulence หลุมอากาศ คืออะไร? หลุมอากาศ หรือ Air Turbulence เป็นสภาวะที่อากาศมีการเคลื่อนไหวแบบไม่เป็นระเบียบ ทำให้เครื่องบินสั่นหรือเขย่าได้ หลายคนอาจรู้สึกเหมือนนั่งรถแล้วเจอลูกระนาดขนาดยักษ์! หลุมอากาศเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยระหว่างการบิน สาเหตุมาจากการที่เครื่องบินบิ

By Gigi Pr.