Micro-credentials การศึกษาแห่งอนาคต

Micro-credentials การศึกษาแห่งอนาคต

นโยบายหนึ่งของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ ผลักดันการศึกษาในรูปแบบ Micro-credentials โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยการศึกษาแบบ Micro-credentials มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.      Micro-credentials (MC) เป็นการการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (Skill Based) โดยใบรับรองที่ออกให้จะเป็นการรับรองว่าผู้ที่ได้รับใบรับรอง MC นั้นมีทักษะ หรือ ความสามารถ หรือ สมรรถนะนั้นจริง ซึ่งการรับรองจะไม่อยู่ในรูปแบบ Transcript รายวิชาที่บอกว่าเรียนวิชาอะไรบ้าง แต่จะเป็นรูปแบบของ Skill Transcript ซึ่งแสดงว่าบุคคลที่ได้รับการรับรองนั้น มีทักษะ หรือ ความหรือ ความสามารถ หรือ สมรรถนะนั้น  

2.      Micro-credentials เป็นการเรียนรู้ขนาดเล็ก เล็กกว่าใบปริญญา อาจเป็นคอร์สระยะสั้น (short course) โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะกลุ่มหนึ่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ อาจเป็น 1 ทักษะหรือหลายทักษะประกอบกันก็ได้ MC ที่ออกให้อาจเป็นส่วนหนึ่งของปริญญาก็ได้ (credit bearing) หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของปริญญาก็ได้ (non credit bearing) กรณีที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปริญญาก็อาจอยู่ในรูปของกิจกรรมเสริมหลักสูตร (co-curriculum) ก็ได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างทักษะให้สูงขึ้นและตรงความต้องการของผู้ประกอบการมากขึ้น ในการเทียบกับหลักสูตรระดับปริญญา อาจเทียบกับผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของรายวิชาก็ได้

3.      Micro-credentials สามารถ stack รวมกันและสามารถรวมกันเป็น learning pathways ได้ เพื่อแสดงถึงทักษะที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นทักษะที่สูงขึ้น ทักษะใน MC จะต้องเป็นทักษะที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน และมีความต้องการที่แท้จริงจากผู้ประกอบการ มีกระบวนการที่ทบทวนความต้องการ และประเมินถึงคุณภาพว่าเป็นไปตามที่คาดหวังไว้

4.      Micro-credentials จะต้องมีกระบวนการ learn และ earn (สมรรถนะที่สร้างขึ้นหรือสมรรถนะที่มีอยู่แล้ว) โดยสามารถนำประสบการณ์ทำงานมาขอรับรองได้ (Recognition of Prior Learning : RPL) และมีลักษณะของ demonstration คือ สามารถแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มี MC มีทักษะอะไร และมีหลักฐานอะไรที่แสดงว่ามีทักษะนั้น โดยควรจะเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีสมรรถนะนั้นจริง นั่นหมายความว่าการเรียนรู้จะต้องเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือทำจริง การแสดงถึงทักษะใน MC จะต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการมีทักษะนั้น เช่น การใช้ digital badge

5.      Micro-credentials จะทำให้ผู้เรียนสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง หรือ เป้าหมายของตนเองได้ อัตราการเรียนรู้เป็นไปตามแต่ละบุคคล สามารถเรียนรู้และส่งหลักฐานเพื่อขอรับการประเมินได้ตลอดเวลา

กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการศึกษาแบบ  Micro-credentials

1.      ผู้รับผิดชอบชุดวิชา หรือ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (MC Designer) กำหนดผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของ MC โดยผลการเรียนรู้ ควรมีในระดับ Apply, Analyze, Evaluate และ Create (อ้างอิง Revised Bloom’s Taxonomy) หรือ Proficiency Level ตั้งแต่ Conscious action, Proficient และ Unconscious competence (อ้างอิง Proficiency Framework) ซึ่งแสดงถึงการ “ทำได้” ขึ้นไป โดยการตั้ง Competency ควรวัดทีละ Competency และเนื่องจากการวัดผลเป็นการวัดผลจาก Real-world problem ดังนั้น ผลการเรียนรู้ หรือ ระดับสมรรถนะ ควรจะมาจากผู้ประกอบการด้วย

2.       ผู้สอน จัดรูปแบบการสอน (Learn) ไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Classroom โดยจะต้องเน้นที่ Evident Based คือ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าผู้เรียนสามารถ “ทำได้ ทำเป็น” จริง โดยควรมีการทำ Rubrics for Evidence Assessment เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าต้อง “ทำ” อะไรได้บ้างในแต่ละระดับ ไม่ว่าจะเป็น “เข้าใจแล้ว ฝึกทำอยู่” หรือ “ทำเป็นแล้วจริงๆ” หรือ “ทำเป็นแบบฝังลึก” โดยอาจเป็น Work Sample หรือ ผลงานของการทำงานจริง (real-world) ซึ่งสิ่งนี้ควรสะท้อนกลับไปที่การออกแบบการเรียนรู้ ที่ควรตั้งคำถามว่า “ฉันอยากให้ผู้เรียนทำอย่างนี้ได้ ฉันต้องสอนอะไร” (เหมือนการตอกลิ่มเข้าไปในเนื้อหา) มากกว่า “ถ้าฉันจะสอนเรื่องนี้แล้วผู้เรียนควรทำอะไรได้”  

ตัวอย่างโครงสร้างในการออกแบบ Micro-credential ในระดับ Does

3.      ผู้ประเมิน ซึ่งอาจมาจาก ผู้สอน ผู้รับผิดชอบชุดวิชา หรือ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ ผู้ประกอบการ ร่วมกันกำหนด Rubrics for Evidence Assessment ที่มีความชัดเจนและเข้าใจตรงกัน โดยผู้เข้ารับการประเมิน อาจได้รับสมรรถนะมาจากการเรียน (Learn) หรือ อาจมาจากประสบการณ์ทำงานก็ได้ (Workplace Experience) (Earn)  โดยควรจะมีระบบฐานข้อมูลสำหรับเก็บหลักฐานการประเมินผล และ Proficiency Level ของผู้เรียน โดยอาจให้มีการเข้าถึงแบบ online ตามสิทธิ์ เพื่อให้แต่ละฝ่ายอ้างอิงได้ (share)

4.      ผู้ออกใบรับรอง (MC Issuer) ทำหน้าที่ออกใบรับรอง หลังจากที่ผ่านการประเมินแล้ว โดยควรเป็นหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ระดับมหาวิทยาลัย หรือ อย่างน้อยระดับคณะ โดยอาจออกเป็น Digital Badge หรือ Skill Transcript ก็ได้

การออกแบบหลักสูตรในรูปแบบ Micro-credentials

 การออกแบบหลักสูตรในรูปแบบ Micro-credentials หรือ Outcome-based Education Module (OBEM) คือ การออกแบบหลักสูตรคล้ายกับการต่อชิ้นส่วน Lego โดยออกแบบให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามความสนใจของตนเอง โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดในหลักสูตร (Non Linear, Module Based) โดยผู้เรียนสามารถต่อ Lego ให้ตรงกับความต้องการเชิงอาชีพระดับบุคคลได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเนื้อหามีลำดับก่อนหลัง อาจจะมีการแนะนำลำดับการเรียนรู้ หรือลำดับของ Pathways

ปกติแล้วใน 1 หลักสูตรในระดับปริญญาตรี มักมีความกว้าง โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว สามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลายตำแหน่ง จึงมีเนื้อหาวิชา ความรู้ หรือ ทักษะ ที่ไม่ได้ใช้งาน “ทันที” อยู่จำนวนหนึ่ง แม้จะมีข้อดีที่บัณฑิตสามารถเปลี่ยนสายงานได้ แต่ก็เสียเวลาในการเรียน และความรู้อาจล้าสมัย หลักสูตรในรูปแบบ Micro-credentials หรือ Outcome-based Education Module (OBEM) มองว่า หากผู้เรียนสามารถ “เลือก” เส้นทางของตนเองได้แล้ว ก็ควรจะเรียน ฝึกฝน เฉพาะทักษะที่ต้องใช้สำหรับงานตำแหน่งนั้น จะประหยัดเวลามากกว่า หากเปลี่ยนสายงาน ก็สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นแนวทางของการศึกษาตลอดชีวิต (life-long learning)

คุณสมบัติหลักของชิ้นส่วน Lego คือจะต้องรับรอง Learning Outcome, โดยใช้เวลาไม่นานมาก (typically short in duration), แยกกันพัฒนาได้ (independent & self-contained), และสามารถนำมาต่อกันได้ (stackable) ในระบบ OBEM ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน Lego ชิ้นไหนก่อนหลังได้ตามความจำเป็น สะสมผลการเรียนรู้ได้โดยไม่มีการกำหนดระยะเวลา หรือให้เวลานานพอจนมั่นใจว่าน่าจะทำได้จริง (self-paced)

ประเด็นสำคัญในการออกแบบหลักสูตร

  1. ระลึกไว้เสมอว่าผู้เรียนต้อง “ทำได้” จริง การทำได้ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด เนื่องจากการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน อาจใช้เวลาต่างกัน ดังนั้นการเรียนรู้ไม่ควรจะจำกัดที่เวลาหรือวิชา ดังนั้นควรก้าวข้ามการแบ่งเป็นรายวิชาและการกำหนดระยะเวลาการเรียนรู้เป็นภาคการศึกษา ผู้เรียนสามารถใช้เวลาตามระดับความสามารถของตนเอง และสามารถขอรับการประเมินในเวลาใดก็ได้ที่พร้อม
  2. กำหนด Competency ให้เล็ก และเชื่อมต่อกันได้ หากแบ่งทักษะในหลักสูตรออกมาเป็นทักษะย่อยๆ ที่สามารถฝึกฝนทีละทักษะได้ และสามารถต่อยอดกันได้ (stackable) กำหนดเป็นลำดับการเรียนรู้สู่อาชีพ (Career learning pathways) ได้ หากเรามี Lego จำนวนมาก เราจะสามารถ “สร้างสรรค์” เส้นทางสู่อาชีพได้มากมายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอถึง 4 ปี (หากต้องการปริญญาก็สามารถเก็บเพิ่มเติมภายหลังได้) เรา “จะ” สามารถพัฒนากำลังคนได้ทันกาล หรือแม้กระทั่งตอบโจทย์อาชีพอนาคตที่ยังไม่เคยมี โดยไม่ต้องรอระยะเวลาการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบ ไม่ต้องเปิดปิดตามภาคการศึกษา
  3. รองรับผู้เรียนที่หลากหลาย การออกแบบหลักสูตรให้ผู้เรียนสามารถ “เลือก” เส้นทางของตัวเอง ในการบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อให้พวกเขาทำได้ทำเป็น เร็วช้าได้แตกต่างกันตามความสามารถและความต้องการในระดับบุคคล วิธีการเรียนรู้อาจทำได้หลากหลาย ทั้งแบบห้องเรียน หรือ ออนไลน์ หรือ ผสมผสาน (Flexible Delivery) การเข้าออกการศึกษาได้ตามความสะดวกและสถานการณ์ในด้านการงาน ครอบครัวและความต้องการในการดำเนินชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน สามารถสะสมหน่วยกิตได้ สามารถเทียบประสบการณ์กลับมาเป็นหน่วยการเรียนรู้ได้ จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง
  4. ออกแบบหลักสูตร OBEM แล้ว ต้องออกแบบการเรียนรู้ และการวัดผล OBEM ด้วย เนื่องจากเป้าหมายของ OBEM คือ การ “ทำได้” ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้แบบเดิมอาจไม่เพียงพอ Homework, Quiz, Assignment, Project อาจไม่เพียงพอ เพราะการ “ทำได้” คือ การทำได้ภายใต้สถานการณ์จริง ดังนั้นควรจัดการเรียนรู้ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด จุดนี้เองที่ผู้ประกอบการควรเข้ามาร่วมมือ การวัดและประเมินผล ก็ควรใกล้เคียงกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงให้มากที่สุด การต้องทำงานในระยะเวลาที่จำกัดอาจไม่เหมาะสม ถ้าเราเชื่อว่าคนพัฒนาได้และทุกคนทำได้ด้วยความเร็วช้าที่แตกต่าง การวัด (เพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้) เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงระดับของการทำได้ ควรให้เวลาพอ ที่จะแสดงออกซึ่งความสามารถนั้นๆ รวมถึงมีการวางมาตรฐานของ Assessment criteria ที่เป็น Performance-based ว่าทำได้แบบไหนถึงจะมั่นใจว่าทำได้จริง (Mastery learning) ระดับความสามารถ (Proficiency Level) แต่ละระดับความสามารถจะวัดอย่างไร และแสดงด้วยหลักฐานอะไร และการวัดนั้นต้องมีเป้าหมายเพื่อวัดพัฒนาการของผู้เรียน (Assessment for Learning) คือบอกได้ว่ายังขาดทักษะใด

จากการศึกษาที่ใช้เวลาเป็นแกน สู่การศึกษาที่ใช้ความสามารถเป็นแกน

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เข้าใจ Micro-credentials มากขึ้นนะครับ มาช่วยกันพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าและตอบโจทย์ของประเทศให้มากขึ้น

References:

  1. "OBEM ทำไปทำไม ฉบับอาจารย์ มจธ.", Klangjai S, https://klangjai.medium.com/obem-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%98-e2d5aab86cd0
  2. KMUTT Micro Credential Project, https://www.4lifelonglearning.org/

Read more

ผีที่ว่าน่ากลัวยังไม่น่ากลัวเท่าแก๊งค์คอลเซนเตอร์

ผีที่ว่าน่ากลัวยังไม่น่ากลัวเท่าแก๊งค์คอลเซนเตอร์

จากกรณีที่น่ากังวลใจเกี่ยวกับการหลอกลวงนักศึกษาหลายร้อยคนโดย “แก๊งคอลเซนเตอร์” ซึ่งมาในรูปแบบที่ซับซ้อนและทำให้เชื่อถือได้ โดยแก๊งคอลเซนเตอร์อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี นักศึกษาหลายคนได้รับการติดต่อแจ้งว่าพวกเขาอาจมีความผิดตามกฎหมาย บทสนทนาหรื

By nutjari
รับมือให้ทัน สภาวะตกหลุมอากาศ

รับมือให้ทัน สภาวะตกหลุมอากาศ

Air Turbulence หลุมอากาศ คืออะไร? หลุมอากาศ หรือ Air Turbulence เป็นสภาวะที่อากาศมีการเคลื่อนไหวแบบไม่เป็นระเบียบ ทำให้เครื่องบินสั่นหรือเขย่าได้ หลายคนอาจรู้สึกเหมือนนั่งรถแล้วเจอลูกระนาดขนาดยักษ์! หลุมอากาศเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยระหว่างการบิน สาเหตุมาจากการที่เครื่องบินบิ

By Gigi Pr.
ถามให้ปัง! เคล็ดลับขุดลึกความต้องการเพื่อสร้างนวัตกรรมสุดล้ำ

ถามให้ปัง! เคล็ดลับขุดลึกความต้องการเพื่อสร้างนวัตกรรมสุดล้ำ

การตั้งคำถามที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพ

By อ.บอม GenEd.