สุดล้ำ! จำลองรถไฟฟ้าใช้ได้จริง ต่อยอดสู่อนาคต

สุดล้ำ! จำลองรถไฟฟ้าใช้ได้จริง ต่อยอดสู่อนาคต

การขนส่งทางราง เป็นอีกหนึ่งการขนส่งสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เราจะเห็นว่าปัจจุบันมีการขยายเส้นทางรับส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

และที่สำคัญไม่เพียงแค่ขนส่งผู้โดยสารได้อย่างเดียว แต่ยังสามารถขนส่งสินค้าอื่น ๆ ในปริมาณมาก ด้วยระยะเวลาที่เราสามารถกำหนดได้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งขนส่งที่ช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกือบทุกอุตสาหกรรมในโลก เริ่มตื่นตัว เพื่อปรับเปลี่ยน ขนส่งยุคใหม่ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้น

ถ้าเปรียบเทียบระบบการขนส่งทั้งหมด “ขนส่งทางราง” เป็นขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่ก็ยังคงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ดี ถึงแม้จะสร้างผลกระทบไม่มากเท่าขนส่งอื่น ๆ แต่ก็ยังไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100% สักเท่าไหร่

จากการพัฒนาระบบต่าง ๆ ทำให้ปัจจุบันการขนส่งทางราง เริ่มเปลี่ยนมาใช้หัวรถจักรไฟฟ้า เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

จึงทำให้เกิดโครงการ TRRN Railway Challenge 2024 การแข่งขันออกแบบหัวรถจักรไฟฟ้า ที่ร่วมมือกันระหว่าง ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดโอกาสให้นักวิจัย บุคลากร และนิสิตนักศึกษา แสดงผลงานด้านวิศวกรรมระบบราง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาต่อไปในอนาคต

ยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ถ้าเราไม่พัฒนา เราก็ไม่ทัน…

จากไอเดียสู่การลงมือปฏิบัติจริง

ดร.กลวัชร เฉลิมพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ เล่าว่า หลายปีก่อน เคยส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันไอเดีย ดีไซน์ คอนเซ็ปต์ พรีเซนต์

ซึ่งการแข่งขันในครั้งนั้นทำให้เราได้รับรางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 50,000 บาท และรางวัลยอดเยี่ยมด้านการออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านการออกแบบทางวิศวกรรมวัสดุ รวมทุนการศึกษากว่า 9,000 บาท แต่การแข่งขันครั้งนี้ไม่เหมือนกับครั้งก่อน คือ เราต้องสร้างหัวรถจักรขึ้นมา แล้วเอาไปวิ่งจริงที่สนาม!

จากโจทย์ที่เราได้รับต้องบอกเลยว่า เราทำการบ้านกันหนักมาก การเลือกใช้แบตเตอรี่สำคัญ ก่อนอื่นเลย เราต้องรู้ข้อมูลสนามการแข่งขันก่อน ระยะทาง ความชันในการเข้าโค้ง เพื่อมาวิเคราะห์กันต่อว่า

เราต้องผลิตรถในน้ำหนักที่เท่าไหร่? มอเตอร์ต้องเท่าไหร่? จะใช้เวลาเท่าไหร่? จะวิ่งกี่รอบ? ใช้ความเร็วกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึงจะสามารถเลือกแบตเตอรี่ได้ ซึ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันหมด ถ้ารถมันเบาเกินไป ต่อให้มอเตอร์เร็วแค่ไหนก็ขึ้นเนินไม่ได้อยู่ดี

นับถอยหลัง 20 วันสุดท้าย สู่ภารกิจที่ท้าทาย

นายคินภร ทัศนงาม และนางสาวณฐมน เพชรแอ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ตัวแทนจากทีม RTE-Kmitl เล่าว่า 20 วันสุดท้าย ทีมเราไม่มีอะไรที่เป็นชิ้นงานวัตถุเลย มีแค่แบบบนกระดาษเท่านั้น พวกเราเริ่มออกแบบตามหลักวิศวกรรม ส่วนประกอบเกือบทุกชิ้น ผ่านการวิเคราะห์ แก้ไข และตีกลับมาไม่ต่ำกว่า 10 ครั้งได้ แล้วปัญหาก็เกิดเสมอตลอดทุกช่วงที่เริ่มสร้าง และกว่าจะเสร็จก็คืนสุดท้ายของวันที่แข่งขัน เอาจริง ๆ พวกเราเหมือนทำงานแข่งกับเซเว่นเลยก็ว่าได้ รถมารับหัวรถจักรตอนตีสี่ เสร็จจริงตอนตีสาม เกือบจะไม่ทันจริง ๆ สุดท้ายพวกเราก็ทำเสร็จทัน…

กู้วิกฤติเหตุระทึก! การแข่งขันที่เดิมพันด้วยศักดิ์ศรี
ในวันที่รถไฟตกราง…
จังหวะนาทีนั้น ทุกคนในทีมต่างหยุดนิ่ง ในสมองมีแต่ความว่างเปล่า รู้สึกดิ่ง ทำอะไรไม่ถูก
คำพูดของอาจารย์เป็นเสียงสะท้อนดังขึ้นมา "ผมเชื่อมั่นว่าพวกคุณจะทำให้รถกลับมาแข่งขันต่อได้แน่นอน"

นาทีที่อาจารย์ได้บอกพวกเรา ทำให้เรามีพลัง อยากลุกขึ้นสู้อีกครั้ง พร้อมท้าชนทุกปัญหาที่เข้ามา แก้ไขด้วยทุกความรู้ด้านวิศวกรรมที่มี… เพื่อเอาชนะการแข่งขันในครั้งนี้

จากอุบัติเหตุรถไฟตกราง พวกเราทีม RTE-KMITL ก็กลับมาช่วยกันวิเคราะห์ หาสาเหตุทำไมรถไฟถึงตกราง? พบว่าเกิดจากความไม่เข้ากันของล้อรถไฟ และรางรถไฟ เหมือนวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมันปีนกัน จึงเป็นเหตุทำให้ รถไฟหลุดโค้ง…

ซึ่งก่อนหน้านี้ จริง ๆ พวกเราเคยทดสอบรถไฟผ่านโค้งที่แคบกว่านี้มาแล้ว ครั้งนี้ก็เลยอยากลองให้รถไฟวิ่งผ่านโค้งนั้นในความเร็วปกติอีกครั้ง ผลปรากฏว่า หลุดโค้ง…

ทุกครั้งที่รถออกแข่งขัน
อาจารย์จะวิ่งไปกับพวกเราทุกรอบ…

บทเรียนที่หลากหลาย

เราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ เรื่องเล็กน้อยมีผลมากจริง ๆ การแบ่งเวลาระหว่างการออกแบบ กับการลงมือปฏิบัติจริง และการลองสนามแข่งขันก่อนล่วงหน้า 1 วัน เรื่องเหล่านี้มีผลมาก การลงสนามในครั้งนี้ก็จะเป็นบทเรียนให้กับพวกเรา และเตรียมพร้อมให้กับน้อง ๆ รุ่นต่อไปกับแข่งขันในครั้งหน้า

สุดท้ายอยากขอบคุณทุกการสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอบคุณอาจารย์ที่เชื่อมั่นมาตลอดว่าพวกเราทำได้

ขอบคุณ Future Tech และรุ่นพี่ที่คอยให้คำแนะนำ รวมถึงทุกคนที่ช่วยกันสร้างหัวรถจักรไฟฟ้า ทำให้พวกเราสามารถคว้ารางวัลมาได้ทั้งหมด 5 รางวัล

KMITL Expert EP.2

สุดล้ำ! จำลองรถไฟฟ้าใช้ได้จริงต่อยอดสู่อนาคต

Click here

KMITL Expert EP.3

กู้วิกฤติเหตุระทึก! การแข่งขันที่เดิมพันด้วยศักดิ์ศรี

Click here

Writer

Suchanan Lekjaisue
Social Media Executive
Public Relations and Corporate Communications Office - KMITL (สำนักงานสื่อสารองค์กร)

Read more

ผีที่ว่าน่ากลัวยังไม่น่ากลัวเท่าแก๊งค์คอลเซนเตอร์

ผีที่ว่าน่ากลัวยังไม่น่ากลัวเท่าแก๊งค์คอลเซนเตอร์

จากกรณีที่น่ากังวลใจเกี่ยวกับการหลอกลวงนักศึกษาหลายร้อยคนโดย “แก๊งคอลเซนเตอร์” ซึ่งมาในรูปแบบที่ซับซ้อนและทำให้เชื่อถือได้ โดยแก๊งคอลเซนเตอร์อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี นักศึกษาหลายคนได้รับการติดต่อแจ้งว่าพวกเขาอาจมีความผิดตามกฎหมาย บทสนทนาหรื

By nutjari
รับมือให้ทัน สภาวะตกหลุมอากาศ

รับมือให้ทัน สภาวะตกหลุมอากาศ

Air Turbulence หลุมอากาศ คืออะไร? หลุมอากาศ หรือ Air Turbulence เป็นสภาวะที่อากาศมีการเคลื่อนไหวแบบไม่เป็นระเบียบ ทำให้เครื่องบินสั่นหรือเขย่าได้ หลายคนอาจรู้สึกเหมือนนั่งรถแล้วเจอลูกระนาดขนาดยักษ์! หลุมอากาศเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยระหว่างการบิน สาเหตุมาจากการที่เครื่องบินบิ

By Gigi Pr.
ถามให้ปัง! เคล็ดลับขุดลึกความต้องการเพื่อสร้างนวัตกรรมสุดล้ำ

ถามให้ปัง! เคล็ดลับขุดลึกความต้องการเพื่อสร้างนวัตกรรมสุดล้ำ

การตั้งคำถามที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพ

By อ.บอม GenEd.