การ์ตูนผีบาทเดียว: ศิลปะสยองขวัญที่สะท้อนจิตใจและวัฒนธรรมไทย
แค่ "ลายเส้น" กับ "เรื่องเล่าผี" ราคาเพียง 1 บาท ก็สามารถปลุกทั้งความกลัวและความทรงจำของคนไทยได้มาตลอดหลายสิบปี!
แค่ "ลายเส้น" กับ "เรื่องเล่าผี" ราคาเพียง 1 บาท ก็สามารถปลุกทั้งความกลัวและความทรงจำของคนไทยได้มาตลอดหลายสิบปี!
"การ์ตูนผีเล่มละบาท" ไม่ได้มีดีแค่ความน่าขนลุก แต่ยังเป็น วรรณกรรมภาพ ที่สอดแทรกศิลปะ วัฒนธรรม และความเชื่อของคนไทยไว้อย่างลึกซึ้ง ผ่านลายเส้น ภาพวาด และเนื้อเรื่องที่สะท้อนชีวิตจริง เช่น ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ บาปบุญคุณโทษ หรือแม้แต่การตั้งศาลตายายในหมู่บ้าน
จากบทความวิจัย "องค์ประกอบสยองขวัญในสื่อการ์ตูนผีบาทเดียว: เทคนิคการเล่าเรื่องและการสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นอารมณ์ผู้ชม" โดย วันวิสาข์ พรมจีน และ พสชนันท์ บุญช่วย (คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์) พบว่า...
- การ์ตูนผีที่ดี ไม่จำเป็นต้องโชว์ผีอย่างตรง ๆ แต่ใช้องค์ประกอบเชิงนามธรรม เช่น เงา ความว่างเปล่า หรือภาพเลือนราง เพื่อกระตุ้นจินตนาการคนดูให้กลัวแบบสุดขั้ว
- หน้าปก คือหัวใจสำคัญในการดึงดูดสายตา ต้องมีสีฉูดฉาด เข้มข้น เพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
- เรื่องราวผีที่นำเสนอควรผูกโยงกับ "คติธรรม" เพื่อเตือนสติ เช่น ผลกรรม การเวียนว่ายตายเกิด หรือการละเว้นความชั่ว
- การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องผ่าน "ช่องการ์ตูน" (Closure) ช่วยสร้างอารมณ์ความต่อเนื่องในใจผู้อ่าน ทำให้เรื่องผีเหล่านี้ดูสมจริงยิ่งขึ้น
งานวิจัยชี้ว่า การ์ตูนผีไทยเหล่านี้เป็น Soft Power ทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ด้วย ถ้าสามารถต่อยอดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และคงเสน่ห์แบบไทย ๆ เอาไว้
จนแอบคิดว่า ถ้าทำเป็น "Netflix เวอร์ชั่นผีไทย" จากการ์ตูนผีเล่มละบาท จะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร?
📚 อ้างอิง
วันวิสาข์ พรมจีน, พสชนันท์ บุญช่วย. (2568). องค์ประกอบสยองขวัญในสื่อการ์ตูนผีบาทเดียว: เทคนิคการเล่าเรื่องและการสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นอารมณ์ผู้ชม. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 9(4), 385-399.